ใหม่ โปรโมชั่นเดือน"วันแม่แห่งชาติ" 12 สิงหาคม 2551 คอร์สอยู่ไฟ 5วัน, 7 วัน

25510804

เซลลูไลท์ คืออะไร ?






เซลลูไลท์ ( Cellulite) จะเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องการเรียงตัวของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ที่อยู่ระหว่างผิวหนังและกล้ามเนื้อของผู้หญิง ซึ่งเรียงตัวในลักษณะแนวตั้ง จะมีปริมาณไขมันสะสมมาก ส่วนเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของผู้ชายจะเรียงเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเล็กๆ จึงมีปริมาณไขมันสะสมอยู่น้อย โดยเซลลูไลท์ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะคนอ้วนเท่านั้น ในคนผอมก็เกิดได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยและสิ่งแวดล้อมและวิถีการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล




คำว่า เซลลูไลท์ Cellulite หรือ เซลลู ลีท หมายถึง ลักษณะแข็งๆที่ยื่นออกมา ภายใต้ผิวบริเวณต้นแขน ต้นขา ท้องน้อย หลัง คอ ไหล่ หรือแม้นแต่บริเวณ ใบหน้าและลำคอ เป็นเซลไขมันที่พองตัว เนื่องจากมีกรดไขมันและสารพิษสะสมอยู่ แล้วรวมตัวกันเป็นก้อนตะปุ่มตะปำ รู้จักกันทั่วไปว่า ผิวเปลือกส้ม


กลไกการเกิดเซลลูไลท์ เริ่มจากสภาวะหลอดเลือแดงที่เสื่อมสภาพ ทำให้ของเหลวในหลอดเลือดแดงซึมผ่านออกมาได้ กระตุ้นให้เกิดการสร้างเส้นใยพังผืดออกมา ประสานกันเป็นร่างแหจนเกิดการดึงรั้ง เซลล์ไขมันจึงค่อยๆเปลี่ยนรูปไปทีละน้อย กลุ่มไขมันก้อนเล็กก็รวมตัวกันเป็นก้อนใหญ่ มองเห็นขรุขระคล้ายผิวของเปลือกส้ม ดังกล่าว


สาเหตุการเกิดเซลลูไลท์ มีได้หลายปัจจัย คือ พันธุกรรม ความเคลียด การรับประทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ การดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์ การแต่งกายที่ไม่สมกับสรีระ การเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกกับสรีระศาสตร์ และฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่มีเฉพาะในเพศหญิง จึงพบว่าหญิงหลังคลอดและผู้ที่ทานยาคุมกำเนิดมีโอกาสเกิดเซลลูไลท์มากกว่าปกติ


การแก้ปัญหา เกี่ยวกับเซลลูไลท์ คือการแก้เรื่องพฤติกรรมหรือมูลเหตุของการก่อให้เกิดเซลลูไลท์ เช่น แก้ความเครียดด้วยการการทำสมาธิภาวนา ออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มของมึนเมา น้ำอัดลม ชากาแฟ หันมาดื่มน้ำเปล่าแทนหรือน้ำผลไม้ที่ปราศจากน้ำตาล นอกจากนี้ยังมีวิธีการนวดสลายไขมันหรือเซลลูไลท์ ซึ่งมีบริการตามสปาต่างๆ ก่อนจะเข้ารับบริการควรทำการสอบถาม ข้อมูลสปาแต่ละแห่งด้วยว่ามีบริการสลายไขมันหรือไม่

25510801

ขมิ้นชันมีประโยชน์อย่างไรบ้าง





ขมิ้นชัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า curcuma longa L ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน เนื่องจากขมิ้นชันมีประโยชน์มากมาย ทั้งเป็นยารักษาโรค เป็นอาหารและปัจจุบันเป็นที่นิยมมากคือ เครื่องสำอาง


ขมิ้นชันกับการเป็นยารักษาโรค

ใช้เหง้าแก่ตากแห้ง บดเป็นผง ผสมกับนำผึง้ปั้นเป็นลูกกลอนหรือใส่แคปซูลขนาด 250 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 2 เม็ดก่อนอาหารและก่อนนอน ใช้ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม

( ทั้งนี้มีผลการศึกษาวิจัยเพื่อทดสอบประสิทธิผลของขมิ้นชัน รองรับกลุ่มอาการเหล่านี้เป็นจำนวนมาก)


ข้อแนะนำ/ควรระวัง


  • การใช้ผงขมิ้นชันรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร ถ้าใช้ในอัตราส่วนที่มากไปจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้

  • คนไข้บางคนอาจมีอาการแพ้ขมิ้น โดยมีอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว ควรหยุดยาทันที

ขมิ้นชันกับการเป็นอาหาร


ขมิ้นชันนิยมใช้ปรุงแต่งกลิ่นและรสในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะอาหารทางภาคใต้ เช่น แกงดหลือง แกงไตปลา แกงกระหรี่ ไก่ทอดขมิ้น ปลาทอดขมิ้นเป็นต้น


ขมิ้นชันกับการเป็นเครื่องสำอาง


ในปัจจุบันนี้ได้มีการนำขมิ้นชันมาผลิตเป็นเครื่องสำอางกันมากมาย ทั้งในรูปของสารสกัดจากขมิ้น หรือนำขมิ้นผงมาผสมกับสมุนไพรตัวอื่นๆ เป็นครีมพอกหน้า หรือผงขัดผิว ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากขมิ้นชันมีสารเคอ์คิวมินอยด์มีคุณสมบัติยั้งยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและลดการอักเสบ




ว่านชักมดลูกมีประโยชน์ อย่างไร





ว่านชักมดลูก หรืออีกชื่อว่า ว่านทรหด มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Curcuma xanthorrhiza เป็นพืชสกุลเดียวกับขมิ้นชัน

ส่วนที่นำมาเป็นประโยชน์ทางยา คือ เหง้าหรือหัว จากงานทดลองห้องปฎิบัติการพบว่า ว่านชักมดลูกออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน(estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่พบมากในเพศหญิง แต่มีฤทธิ์อ่อนกว่า ดังนั้นการนำประโยชน์ทางยาจึงเหมาะกับสตรีวัยหมดประจำเดือน สตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ สตรีที่มีปัญหาเกี่ยวกับมดลูก หรือสตรีหลังคลอดบุตร เพราะมีสรรพคุณทางยาตามที่บันทึกไว้ในตำรายาไทยว่า ว่านชักหมดลูก เมื่อนำมาฝานตากแดดให้แห้งนำไปบดเป็นผง ปรุงเป็นยาทั้งในรูปแบบยาเดี่ยวหรือยาตำรับ แก้มดลูกพิการ แก้มดลูกปวดบวม ชักมดลูกให้เข้าอู่ในสตรีหลังการคลอดบุตร ขับน้ำคาวปลา แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย แก้ริดสีดวงถวาร แก้มะเร็ง และแก้ฝีต่างๆ นอกเหนือจากการรับประทานเป็นยาแล้ว ยังมีสตรีบางกลุ่มที่นิยมทานว่านชักมดลูกเพื่อประโยชน์ในเรื่องความสวยความงาม บำรุงผิวพรรณให้เต่งตึง


ข้อควรระวัง ผลข้างเคียงจากรับประทานว่านชักมดลูก หากใช้ปริมาณที่สูงหรือติดต่อเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ คือมีเลือดออกในช่องคลอด มีอาการปวดท้อง และจากการศึกษาทดลองในห้องปฏิบัตืการพบว่า สารสกัดจากว่านชักมดลูกนั้น จะมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งของน้ำดีและเกลือน้ำดี ส่งผลให้ลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลได้ จากฤทธิ์ในการกระตุ้นการหลั่งน้ำดี จึงไม่ควรใช้ในผู้ที่มีปัญหาท่อน้ำดีอุดตันหรือเป็นนิ่วในถุงน้ำดี และเนื่องจากออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศ รายใดที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังที่เกี่นยวกับการเจริญหรือการก่อการพันธุ์ของเนื้อร้าย เช่นมะเร็ง ซีสต์ หรือเนื้องอก จึงไม่ควรรับประทานยาที่ปรุงหรือสกัดจากว่านชักมดลูก เพราะอาจส่งผลให้อาการผู้ป่วยรุนแรงขึ้นก็ได้ ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ก่อน

25510731

การอยู่ไฟนั้น มีประโยชน์อย่างไรบ้าง






หลังคลอดบุตร ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีอาการเศร้าหมอง เนื่องจากสภาพฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งความเหนื่อล้าเจ็บปวดและความวิตกกังวลในการเลี้ยงดูบุตร ในอดีตหญิงหลังคลอดจึงใช้วิธีดูแลตนเองด้วยการอยู่ไฟ ซึ่งจะทำให้เกิดผลดีในภาพรวม ตามความเชื่อของชาวบ้านเชื่อว่า การอยู่ในที่ร้อน ดื่มน้ำร้อน อาบน้ำร้อน เป็นการพักฟื้นเพื่อสะสมกำลังให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงทำงานหนักได้ ไม่ปวดเมื่อย ต่อสู้โรคภัยต่างๆได้ ไม่มีอาการหนาวสะท้านเมื่อถูกลมฝน ซึ่งผลกระทบต่างๆ อาจจะไม่เห็นในทันที แต่จะปรากฏให้เห็นเมื่ออายุมากขึ้น นอกจากนี้การอยู่ไฟยังช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว มีน้ำนมมาก ทำให้ลูกสุขภาพแข็งแรง



  • การนั่งถ่าน หรือการรมควันสมุนไพร คือการใช้ควันที่เกิดจากการเผาสมุนไพร ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะในการบีบตัวของมดลูก ช่วยขับน้ำคาวปลา ทำความสะอาดแผลฝีเย็บและช่องคลอด สมานแผล บรรเทาอาการเจ็บแผลตามกรรมวิธีโบราณ


  • การเข้ากระโจม คือการนำสมุนไพรสดหรือแห้งหลายชนิดมาต้มในกระโจม เพื่อให้ได้ไอน้ำจากการต้ม ซึ่งจะต้องอยู่ในที่มิดชิดเพื่อให้ร่างกายได้รับไอน้ำอย่างทั่วถึง


  • การประคบสมุนไพร เป็นวิธีการที่ช่วยทำให้แผลฝีเย็บแห้งดีและลดการอักเสบ ลดการคัดของเต้านม ทั้งยังช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หลังคลอดบุตร 7 วัน สามารถประคบด้วยลูกประคบ วึ่งมีตัวยาหลักดังนี้ ไพล ตะไคร้ ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ผิวมะกรูด เถาขมิ้นอ่อน ใบส้มป่อย ใบมะขาม การบูร


  • การทับหม้อเกลือ เป็นการดูแลหญิงหลังคลอดให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็ว กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้น้ำคาวปลาไหลสะดวก บรรเทาอาการปวดเมื่อ ช่วยลดไขมันสะสมที่หน้าท้อง โดยการนำเกลือสมุทรใส่ที่หม้อดินตั้งไฟให้ร้อนแล้วนำมาวางสมุนไพร เช่น ไพล วานนางคำ ว่านชักมดลูก ใบพลับพลึง เป็นต้น ใช้ผ้าห่อแล้วนำมาประคบตามหน้าท้อง แขน ขา น่อง ความร้อนจากหม้อเกลือจะค่อยๆปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่อง และสกัดสมุนไพรสดชื่นซึ่งมีน้ำมันหอมระเหย มีตัวยาออกฤทธิ์โดยตรงต่อสุขภาพ กรณีคลอดธรรมชาติควรทำหลังคลอดแล้ว 7 วันขึ้นไป กรณีผ่าคลอดสามารถทำได้เมื่อครบ 1 เดือนแล้ว


นอกจากนี้ ยังมีการบำรุงร่างกายด้วยอาหารที่มีประโยชน์ เช่นข้าวซ้อมมือที่อุดมด้วยวิตามิน รับประทานปลาเพราะโปรทีนจากปลาย่อยง่าย รับประทานผักสมุนไพรเพื่อเพิ่มน้ำนม เช่น แกงเลียง บวบ ตำลึง หัวปลี เป็นต้น และงดอาหารรสจัด อาหารหมักดอง



25510725

การอบสมุนไพรมีประโยชน์อย่างไรและมีอันตรายหรือไม่




การอบสมุนไพร


เป็นการนำสมุนไพรหลาย ๆ ชนิดมารวมกัน ประกอบด้วยสมุนไพรที่มี น้ำมันหอมระเหยและสมุนไพรรักษาตามอาการ


นำมาต้มจนเดือด เพื่อให้ไอน้ำ น้ำมันหอมระเหย และสารระเหยต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในสมุนไพรจะออกมาสัมผัสถูกผิวหนังทำให้มีผลเฉพาะที่ และเมื่อสูดดมเข้าไปกับลมหายใจ จะมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ


ประโยชน์การอบสมุนไพรมีดังนี้


ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น คลายความตรึงเครียด




  1. ช่วยชำระล้างและขับของเสียออกจากร่างกาย


  2. ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบรรเทาอาการปวดเมื่อย


  3. ช่วยทำให้ระบบการหายใจดีขึ้น ช่วยบำรุงผิวพรรณ บรรเทาอาการคัน รักษาผดผื่น


  4. บรรเทาอาการโรคภูมิแพ้ โรคผิวหนังชนิดไม่ร้ายแรงและไม่ติดเชื้อ อาการปวดบวม เหน็บชา ลมพิษ โรคหืด ยอก โรคเก๊าท์ และอัมพฤกษ์ เป็นต้น


  5. ช่วยให้น้ำหนักร่างกายลดลงได้ชั่วคราว


  6. บรรเทาอาการปวดประจำเดือนที่ไม่มีไข้ร่วม และหญิงหลังคลอดบุตร ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว


  7. เป็นการส่งเสริมสุขภาพ อาจใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ ตามความเหมาะสม


ข้อควรระวังจากการอบสมุนไพร อาจพบปัญหาต่างๆดังนี้

  1. การอบสมุนไพรในห้องที่ทึบและแคบ จะส่งทำให้ร่างกายเกิดการขาดออกซิเจนในการหายใจ ซึ่งจะมีอันตรายต่อสุขภาพถึงขั้นเสียชีวิตได้

  2. ระยะเวลาการอบสมุนไพร ถ้านานเกินไปอาจส่งผลให้ร่างกายเกิดการช็อคได้ เนื่องจากร่างกายสูญเสียเหงื่อและน้ำในปริมาณสูง การติดเชื้อโรค เมื่ออบสมุนไพร ร่วมกับผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรง เช่นวัณโรค


การป้องกันอันตรายจากอบสมุนไพร โดยผู้มีปัญหาดังต่อไปนี้ไม่ควรอบสมุนไพร

  1. มีไข้สูง (มากกว่า 38 องศาเซลเซียส) เพราะร่างกายออ่อนแอ ส่งผลต่อการติดเชื้อได้ง่าย


  2. โรคติดต่อร้ายแรงทุกชนิด


  3. โรคประจำตัว ได้แก่ โรคไต หัวใจ ลมชัก หอบหือระยะรุนแรง โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจระยะรุนแรง หรือรายที่มีความดันโลหิตสูง


  4. สตรีมีประจำเดือน ร่วมกับมีอาการไข้และปวดศรีษะร่วมด้วย


  5. มีการอักเสบจากบาดแผลต่างๆ


  6. อ่อนเพลีย อดนอน อดอาหาร หรือหลังรับประทานอาหารใหม่ๆ


  7. มีอาการปวดศีรษะ ชนิดเวียนศีรษะ คลื่นไส้


Health - ThaiNewsLand

Health News by ThaiPR.net