ใหม่ โปรโมชั่นเดือน"วันแม่แห่งชาติ" 12 สิงหาคม 2551 คอร์สอยู่ไฟ 5วัน, 7 วัน

25510731

การอยู่ไฟนั้น มีประโยชน์อย่างไรบ้าง






หลังคลอดบุตร ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีอาการเศร้าหมอง เนื่องจากสภาพฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งความเหนื่อล้าเจ็บปวดและความวิตกกังวลในการเลี้ยงดูบุตร ในอดีตหญิงหลังคลอดจึงใช้วิธีดูแลตนเองด้วยการอยู่ไฟ ซึ่งจะทำให้เกิดผลดีในภาพรวม ตามความเชื่อของชาวบ้านเชื่อว่า การอยู่ในที่ร้อน ดื่มน้ำร้อน อาบน้ำร้อน เป็นการพักฟื้นเพื่อสะสมกำลังให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงทำงานหนักได้ ไม่ปวดเมื่อย ต่อสู้โรคภัยต่างๆได้ ไม่มีอาการหนาวสะท้านเมื่อถูกลมฝน ซึ่งผลกระทบต่างๆ อาจจะไม่เห็นในทันที แต่จะปรากฏให้เห็นเมื่ออายุมากขึ้น นอกจากนี้การอยู่ไฟยังช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว มีน้ำนมมาก ทำให้ลูกสุขภาพแข็งแรง



  • การนั่งถ่าน หรือการรมควันสมุนไพร คือการใช้ควันที่เกิดจากการเผาสมุนไพร ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะในการบีบตัวของมดลูก ช่วยขับน้ำคาวปลา ทำความสะอาดแผลฝีเย็บและช่องคลอด สมานแผล บรรเทาอาการเจ็บแผลตามกรรมวิธีโบราณ


  • การเข้ากระโจม คือการนำสมุนไพรสดหรือแห้งหลายชนิดมาต้มในกระโจม เพื่อให้ได้ไอน้ำจากการต้ม ซึ่งจะต้องอยู่ในที่มิดชิดเพื่อให้ร่างกายได้รับไอน้ำอย่างทั่วถึง


  • การประคบสมุนไพร เป็นวิธีการที่ช่วยทำให้แผลฝีเย็บแห้งดีและลดการอักเสบ ลดการคัดของเต้านม ทั้งยังช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หลังคลอดบุตร 7 วัน สามารถประคบด้วยลูกประคบ วึ่งมีตัวยาหลักดังนี้ ไพล ตะไคร้ ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ผิวมะกรูด เถาขมิ้นอ่อน ใบส้มป่อย ใบมะขาม การบูร


  • การทับหม้อเกลือ เป็นการดูแลหญิงหลังคลอดให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็ว กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้น้ำคาวปลาไหลสะดวก บรรเทาอาการปวดเมื่อ ช่วยลดไขมันสะสมที่หน้าท้อง โดยการนำเกลือสมุทรใส่ที่หม้อดินตั้งไฟให้ร้อนแล้วนำมาวางสมุนไพร เช่น ไพล วานนางคำ ว่านชักมดลูก ใบพลับพลึง เป็นต้น ใช้ผ้าห่อแล้วนำมาประคบตามหน้าท้อง แขน ขา น่อง ความร้อนจากหม้อเกลือจะค่อยๆปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่อง และสกัดสมุนไพรสดชื่นซึ่งมีน้ำมันหอมระเหย มีตัวยาออกฤทธิ์โดยตรงต่อสุขภาพ กรณีคลอดธรรมชาติควรทำหลังคลอดแล้ว 7 วันขึ้นไป กรณีผ่าคลอดสามารถทำได้เมื่อครบ 1 เดือนแล้ว


นอกจากนี้ ยังมีการบำรุงร่างกายด้วยอาหารที่มีประโยชน์ เช่นข้าวซ้อมมือที่อุดมด้วยวิตามิน รับประทานปลาเพราะโปรทีนจากปลาย่อยง่าย รับประทานผักสมุนไพรเพื่อเพิ่มน้ำนม เช่น แกงเลียง บวบ ตำลึง หัวปลี เป็นต้น และงดอาหารรสจัด อาหารหมักดอง



25510725

การอบสมุนไพรมีประโยชน์อย่างไรและมีอันตรายหรือไม่




การอบสมุนไพร


เป็นการนำสมุนไพรหลาย ๆ ชนิดมารวมกัน ประกอบด้วยสมุนไพรที่มี น้ำมันหอมระเหยและสมุนไพรรักษาตามอาการ


นำมาต้มจนเดือด เพื่อให้ไอน้ำ น้ำมันหอมระเหย และสารระเหยต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในสมุนไพรจะออกมาสัมผัสถูกผิวหนังทำให้มีผลเฉพาะที่ และเมื่อสูดดมเข้าไปกับลมหายใจ จะมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ


ประโยชน์การอบสมุนไพรมีดังนี้


ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น คลายความตรึงเครียด




  1. ช่วยชำระล้างและขับของเสียออกจากร่างกาย


  2. ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบรรเทาอาการปวดเมื่อย


  3. ช่วยทำให้ระบบการหายใจดีขึ้น ช่วยบำรุงผิวพรรณ บรรเทาอาการคัน รักษาผดผื่น


  4. บรรเทาอาการโรคภูมิแพ้ โรคผิวหนังชนิดไม่ร้ายแรงและไม่ติดเชื้อ อาการปวดบวม เหน็บชา ลมพิษ โรคหืด ยอก โรคเก๊าท์ และอัมพฤกษ์ เป็นต้น


  5. ช่วยให้น้ำหนักร่างกายลดลงได้ชั่วคราว


  6. บรรเทาอาการปวดประจำเดือนที่ไม่มีไข้ร่วม และหญิงหลังคลอดบุตร ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว


  7. เป็นการส่งเสริมสุขภาพ อาจใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ ตามความเหมาะสม


ข้อควรระวังจากการอบสมุนไพร อาจพบปัญหาต่างๆดังนี้

  1. การอบสมุนไพรในห้องที่ทึบและแคบ จะส่งทำให้ร่างกายเกิดการขาดออกซิเจนในการหายใจ ซึ่งจะมีอันตรายต่อสุขภาพถึงขั้นเสียชีวิตได้

  2. ระยะเวลาการอบสมุนไพร ถ้านานเกินไปอาจส่งผลให้ร่างกายเกิดการช็อคได้ เนื่องจากร่างกายสูญเสียเหงื่อและน้ำในปริมาณสูง การติดเชื้อโรค เมื่ออบสมุนไพร ร่วมกับผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรง เช่นวัณโรค


การป้องกันอันตรายจากอบสมุนไพร โดยผู้มีปัญหาดังต่อไปนี้ไม่ควรอบสมุนไพร

  1. มีไข้สูง (มากกว่า 38 องศาเซลเซียส) เพราะร่างกายออ่อนแอ ส่งผลต่อการติดเชื้อได้ง่าย


  2. โรคติดต่อร้ายแรงทุกชนิด


  3. โรคประจำตัว ได้แก่ โรคไต หัวใจ ลมชัก หอบหือระยะรุนแรง โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจระยะรุนแรง หรือรายที่มีความดันโลหิตสูง


  4. สตรีมีประจำเดือน ร่วมกับมีอาการไข้และปวดศรีษะร่วมด้วย


  5. มีการอักเสบจากบาดแผลต่างๆ


  6. อ่อนเพลีย อดนอน อดอาหาร หรือหลังรับประทานอาหารใหม่ๆ


  7. มีอาการปวดศีรษะ ชนิดเวียนศีรษะ คลื่นไส้


Health - ThaiNewsLand

Health News by ThaiPR.net